บทความ

เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS มีกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร

รูปภาพ
  UPS เครื่องสำรองไฟฟ้าคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีประโยชน์แค่ไหน แต่ละประเภทของเครื่องสำรองไฟฟ้าต่างกันยังไงบ้าง ? เราหาคำตอบมาให้หมดแล้ว หนึ่งในอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าที่มักถูกมองข้ามก็คือเครื่องสำรองไฟฟ้าหรือ UPS นี่เอง เป็นเพราะหลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงหลักการทำงานรวมถึงความเสี่ยงที่จะตามมาจากการไม่ติดตั้งเครื่องสำรองไฟให้กับเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ของคุณภายในบ้าน หรือว่าที่ทำงาน ดังนั้น บทความนี้อยากจะชวนคุณให้มาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า UPS คืออะไร? UPS ทำหน้าที่อะไร? และใครบ้างที่ควรจะติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้? ทำความรู้จักกับ UPS คืออะไร? UPS นั้นย่อมาจาก (Uninterruptable Power Supply) หรือที่คนทั่วๆไปมักจะเรียกกันว่าเครื่องสำรองไฟ หน้าที่ของตัว UPS ก็คือทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่องให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีที่เกิดไฟกระชาก ไฟกระตุก หรือแม้แต่ ไฟดับ รวมทั้งปรับระดับกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ในระหว่างที่เกิดความผิดปกติของการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยประเภทของ UPS นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักคือ Standby UPS – หรือที่เรียกกันว่าเครื่องสำ

เหตุผลที่ต้องมีเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)

รูปภาพ
เหตุผลที่ต้องมีเครื่องสำรองไฟฟ้า  (UPS) ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานหรือเรื่องอื่นๆ แทบจะไม่เคยมีช่วงไหนเลยที่ไม่มี เครื่องสำรองไฟฟ้า (Uninterruptable Power Supply ,UPS)  เมื่อคุณซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วได้มีการการลงทุนซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดหากคุณสามารถทำได้ ไม่เพียงแต่คุ้มครองฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญหายของข้อมูลอีกด้วย ธรรมชาติจะมีช่วงเวลาหนึ่งของมัน เมื่อกระแสไฟฟ้าในอุปกรณ์ของคุณไม่เสถียร อาจจะมีผลร้ายแรงต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบภายในบ้านของคุณ ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวข้องกับแรงดันไฟฟ้า ได้แก่ ไฟตก (brownout)  ไฟดับ (blackout) สัญญาณรบกวน (noise) แรงดันกระชาก (spikes) และไฟเกิน (power surges) เป็นต้น การลงทุนซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า  UPS ก่อนที่เราจะอธิบายถึงประเด็นเกี่ยวกับความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า เรามาดูกันก่อนว่า UPS คืออะไรและทำงานอย่างไร? UPS เป็นอุปกรณ์ทำการสำรองไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ UPS สามารถป้องกันข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

รายละเอียดเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ PART 2

รูปภาพ
โซล่าเซลล์และกังหันลมพลังงานสะอาด Part2 หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ โซล่าเซลล์์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทาง electronic ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น วัสดุสำคัญที่ใช้ทำโซล่าเซลล์์ ได้แก่ สารซิลิคอน (Si) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชิพในคอมพิวเตอร์ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ซิลิคอนเป็นสารซึ่งไม่เป็นพิษ มีการนำมาผลิตโซล่าเซลล์ใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมีราคาถูก คงทน และเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีวัสดุชนิดอื่นที่สามารถนำมาผลิตโซล่าเซลล์ได้ เช่น แกลเลียมอาเซไนด์ CIS และ แคดเมียมเทลเลอไรด

Solar Cell : โซล่าเซลล์

รูปภาพ
Solar Cell : โซล่าเซลล์ Solar Cell : โซล่าเซลล์  คืออุปกรณ์์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โซล่าเซลล์์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน พลังงานไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ สามารถเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่เพื่อไว้ใช้ในเวลากลางคืนได้ แผงโซล่าเซล ที่มีวัตต์สูง สามารถชาร์จได้เร็ว วัตต์ต่ำชาร์จได้ช้า การใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์มีีจุดเด่นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ และไม่มีมลภาวะทางเสียง 2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า 3. การบำรุงรักษาน้อยมาก และสามารถทำได้ง่าย 4. ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ 5. เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุด 6. ผลิตไฟฟ้าได้ทุกมุมโลกแม้บนเกาะเล็กๆ กลางทะเล บนยอดเขาสูง และในอวกาศ 7. ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวกที่สุด  ชนิดของโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ี้แบ่งออกตามชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตได้ 2 ชนิด คือกลุ่มที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน (Silicon) และ กลุ่มที่ทำจากสารประกอบ ที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทหลังนี้ จะเป็นโซล่าเ

เรื่องควรพิจารณา 5 เรื่องเมื่อเลือกแผงโซลาร์สำหรับโครงการธุรกิจ​

รูปภาพ
เรื่องควรพิจารณา 5 เรื่องเมื่อเลือกแผงโซลาร์สำหรับโครงการธุรกิจ​ องค์กรธุรกิจจำนวนมากในหลายอุตสาหกรรมกำลังลดต้นทุนการจัดการของพวกเขาโดยการติดตั้งแผงสังเคราะห์แสงเพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นไฟฟ้าที่ ใช้งานได้ การย้ายแหล่งพลังงานจากพลังงานฟอสซิลดั้งเดิมและรับพลังงานสะอาด แหล่งพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทำให้บริษัทไม่เพียงแต่มีข้อได้เปรียบทางการเงินมากกว่าคู่แข่งในตลาดโลกมากขึ้น แต่ยังช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของพวกเขาอีกด้วย มีเหตุผลมากมายที่ช่างทำรองเท้าหรือเจ้าของฟาร์มอัลมอนด์อยากจะติดตั้งระบบโซลาร์ เจ้าของกิจกรรมขนาดเล็กที่เติบโตอาจจะเลือกติดตั้งแผงโซลาร์ต้นทุนต่ำจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะลดต้นทุนการจัดการและเพิ่มกำไรได้ แม้จะไม่พูดถึงประโยชน์ข้อนี้ก็ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อจะเลือกระบบโซลาร์สำหรับธุรกิจดังนี้ 1 . เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ดูแลอาคารที่จะหาทางสำรองพลังงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ก่อนจะติดตั้งแผงโซลาร์ โดยการทำให้ประสิทธิภาพพลังงานของอาคารอยู่ในระดับสูงสุดและลดความต้องการใช้พลังงานโดยภาพรวม เจ้าของสามารถตระหนักถึงศักยภาพของระบบแผงโ

STABILIZER หรือ AVR คืออะไร

รูปภาพ
STABILIZER หรือ AVR คืออะไร Stabilizer หรือ AVR คืออะไร                คือ เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ให้มีความคงที่ เรียบนิ่งป้องกันปัญหาไฟฟ้า ตก-ไฟเกิน  จะมีติดมาด้วยกับเครื่องสำรองไฟฟ้าหลายๆรุ่น สำหรับสเตบิไลเซอร์ (Stabilizer) เป็นเครื่องป้องกันไฟตก-ไฟเกิน และปรับแรงดันกระแสไฟให้พอดี ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟเป็นไปด้วยความราบรื่น อุปกรณ์ต่อพ่วงจึงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และที่สำคัญเมื่อกระแสไฟมีความสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้อุปกรณ์นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งลดอัตราการเสียหายอันเกิดจากสภาพปัญหาเรื่องไฟฟ้าตลอดจนช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือให้ยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการทำงานอยู่ตลอดเวลา เช่นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ตู้สาขาโทรศัพท์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์, เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ได้อีกมากมายตามต้องการ   การเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ 1. ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า 2. อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) ซึ่งระบุถึงแรงดันไฟฟ้า (V) และกระแสไฟฟ้า (A) ที่

รายละเอียดของเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS โดยสรุป

รูปภาพ
รายละเอียดของเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS โดยสรุป 1. เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS คืออะไร  - UPS ย่อมาจาก "Uninterruptible Power Supply" หรือ "เครื่องสำรองไฟฟ้า" ถ้าแปลตรงๆก็คือ  แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง 2. หน้าที่ของ เครื่องสำรองไฟฟ้าUPS -  ป้องกันความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน เเละจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า 3. ส่วนประกอบของ UPS - 1. เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger)  ทำหน้าที่รับเเปลงไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟ เป็นไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้า   2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า DC จากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC หรือแบตเตอรี่ และ แปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   3. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจะจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในกรณีท