บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

เรื่องควรพิจารณา 5 เรื่องเมื่อเลือกแผงโซลาร์สำหรับโครงการธุรกิจ​

รูปภาพ
เรื่องควรพิจารณา 5 เรื่องเมื่อเลือกแผงโซลาร์สำหรับโครงการธุรกิจ​ องค์กรธุรกิจจำนวนมากในหลายอุตสาหกรรมกำลังลดต้นทุนการจัดการของพวกเขาโดยการติดตั้งแผงสังเคราะห์แสงเพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นไฟฟ้าที่ ใช้งานได้ การย้ายแหล่งพลังงานจากพลังงานฟอสซิลดั้งเดิมและรับพลังงานสะอาด แหล่งพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทำให้บริษัทไม่เพียงแต่มีข้อได้เปรียบทางการเงินมากกว่าคู่แข่งในตลาดโลกมากขึ้น แต่ยังช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของพวกเขาอีกด้วย มีเหตุผลมากมายที่ช่างทำรองเท้าหรือเจ้าของฟาร์มอัลมอนด์อยากจะติดตั้งระบบโซลาร์ เจ้าของกิจกรรมขนาดเล็กที่เติบโตอาจจะเลือกติดตั้งแผงโซลาร์ต้นทุนต่ำจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะลดต้นทุนการจัดการและเพิ่มกำไรได้ แม้จะไม่พูดถึงประโยชน์ข้อนี้ก็ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อจะเลือกระบบโซลาร์สำหรับธุรกิจดังนี้ 1 . เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ดูแลอาคารที่จะหาทางสำรองพลังงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ก่อนจะติดตั้งแผงโซลาร์ โดยการทำให้ประสิทธิภาพพลังงานของอาคารอยู่ในระดับสูงสุดและลดความต้องการใช้พลังงานโดยภาพรวม เจ้าของสามารถตระหนักถึงศักยภาพของระบบแผงโ

STABILIZER หรือ AVR คืออะไร

รูปภาพ
STABILIZER หรือ AVR คืออะไร Stabilizer หรือ AVR คืออะไร                คือ เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ให้มีความคงที่ เรียบนิ่งป้องกันปัญหาไฟฟ้า ตก-ไฟเกิน  จะมีติดมาด้วยกับเครื่องสำรองไฟฟ้าหลายๆรุ่น สำหรับสเตบิไลเซอร์ (Stabilizer) เป็นเครื่องป้องกันไฟตก-ไฟเกิน และปรับแรงดันกระแสไฟให้พอดี ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟเป็นไปด้วยความราบรื่น อุปกรณ์ต่อพ่วงจึงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และที่สำคัญเมื่อกระแสไฟมีความสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้อุปกรณ์นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งลดอัตราการเสียหายอันเกิดจากสภาพปัญหาเรื่องไฟฟ้าตลอดจนช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือให้ยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการทำงานอยู่ตลอดเวลา เช่นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ตู้สาขาโทรศัพท์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์, เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ได้อีกมากมายตามต้องการ   การเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ 1. ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า 2. อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) ซึ่งระบุถึงแรงดันไฟฟ้า (V) และกระแสไฟฟ้า (A) ที่

รายละเอียดของเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS โดยสรุป

รูปภาพ
รายละเอียดของเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS โดยสรุป 1. เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS คืออะไร  - UPS ย่อมาจาก "Uninterruptible Power Supply" หรือ "เครื่องสำรองไฟฟ้า" ถ้าแปลตรงๆก็คือ  แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง 2. หน้าที่ของ เครื่องสำรองไฟฟ้าUPS -  ป้องกันความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน เเละจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า 3. ส่วนประกอบของ UPS - 1. เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger)  ทำหน้าที่รับเเปลงไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟ เป็นไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้า   2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า DC จากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC หรือแบตเตอรี่ และ แปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   3. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจะจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในกรณีท
รูปภาพ
N+X PARALLEL REDUNDANCY UPS TECHNOLOGY กับเครื่องสำรองไฟฟ้า N+X Parallel Redundancy UPS Technology N+X Parallel Redundancy UPS Technology           เทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy นี้ เป็นคุณสมบัติเพิ่มเติม สำหรับเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภท True Online Double Conversion เพื่อให้การปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สุดยอด และสมบูรณ์แบบมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากผู้ใช้สามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ มาต่อขนานกันเพิ่มเติม เพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการดังต่อไปนี้ 1.เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟฟ้า เช่น ให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า จากของเดิม เป็นต้น 2.เพื่อให้มีระบบทดแทนเครื่องเสียแบบทันทีทันใด แบบ N+X เช่น 2+1 เป็นต้น         เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้า           ท่านสามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าที่รองรับเทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy มาต่อขนานกัน ทั้งทางด้าน ไฟฟ้าขาเข้า และทางด้านไฟฟ้าขาออก เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า ตามเครื่องที่นำมาต่อขนานเพิ่ม เช่น นำเครื่องขนาด 5kVA สองเครื่องมาต่อขนานกันเพื่อให้ได้ขนาดพิกัด 10kVA (5